- การตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการค้า
ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย พร้อมถอนสถานทูตและสถานกงสุลในประเทศไทยออก แต่เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางปฏิบัติกับไทย สองฝ่ายจึงได้ตกลงให้ต่างฝ่ายต่างจัดตั้งสำนักงานประจำกรุงเทพและไทเปขึ้นมา โดยสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)ได้ตั้งสำนักงานในนาม "สำนักงานผู้แทนสายการบินไชน่าแอร์ไลน์" ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2518 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานการค้าตะวันออกไกล ประจำประเทศไทย" ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น " ศูนย์เศรษฐกิจและการค้าไทเป ประจำประเทศไทย" จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าไทเป ประจำประเทศไทย" เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และสุดท้ายมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย" เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2542
2. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า
2.1 การค้าระหว่างไต้หวันกับไทย
ปี 2022 ประเทศไทยเป็นตลาดการค้าการส่งออกอันดับที่6และเป็นประเทศที่ไต้หวันนำเข้าอันดับที่16ยอดเงินการค้าระหว่างไทยกับไต้หวันในปี 2022คือ16,556 ล้านเหรียญสหรัฐ ไต้หวันส่งออกให้ไทย 11,848ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าจากไทย 47.06ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 การลงทุนระหว่างไทยกับไต้หวัน
ในช่วงปีที่ผ่านมานักธุรกิจชาวไต้หวันได้มุ่งลงทุนในแถบเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนของไต้หวันในไทยมีเงินลงทุนรวม 17,930 ล้านเหรียญสหรัฐ (เงินทุนรวมถึงเดือนกันยายน2565)
นอกจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก เช่นอิเล็กทรอนิกส์, ยาง, เหล็กและปิโตรเคมี นักธุรกิจชาวไต้หวันส่วนมากลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตดั้งเดิมที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ชนิดการลงทุนหลากหลาย ตั้งแต่ เลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง, สิ่งทอ, เครื่องจักร, การนำเข้าส่งออก, เพชรพลอย, ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร, อุปกรณ์กีฬา, เฟอร์นิเจอร์, เซรามิก, วัสดุก่อสร้าง, ตัวแทนจัดหาทรัพยากรมนุษนย์, พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ตราสาร, บริษัทรักษาความปลอดภัย, ชานมไข่มุก และบริษัทนำเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการลงทุนได้เปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, สิ่งทอ, สารเคมี, ผลิตภัณฑ์แร่อโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะในยุคแรกเริ่ม ไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และบริการทางการเงิน
3.ความสัมพันธ์ด้านแรงงานและการท่องเที่ยว
ไต้หวันและไทยมีความสัมพันธ์ด้านแรงงานที่ใกล้ชิด ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกแรงงานเข้ามาทำงานในไต้หวันมากที่สุด ปลายปี 2565 แรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในไต้หวันมีจำนวน 66,976 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ไต้หวันและไทยผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทวิภาคีด้านแรงงานเป็นประจำเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่วนความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวระหว่างไต้หวันกับไทยนั้น ก่อนเกิดโรคโควิด19ระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวจากไต้หวันมาไทยในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 830,000 คน และจำนวนนักท่องเที่ยวจากไทยไปไต้หวันก็เพิ่มขึ้นกว่า 410,000 คน จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสองฝ่ายทะลุ 1 ล้านคน ปี 2565 หลังจากได้รับผลกระทบจากโรคระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสองฝ่ายกลับมาฟื้นตัวที่ราว 180,000 คน
4. ความสัมพันธ์การเกษตร
ไต้หวันกับไทยมีความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการเกษตรอย่างใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือด้านการเกษตรไต้หวัน – ไทยเป็นประจำ นอกจากนี้ ไต้หวันส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรของมูลนิธิโครงการหลวงไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย จนถึงขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันเป็นเวลานานกว่า 50 ปี และประสบผลสำเร็จอย่างมาก มูลนิธิดังกล่าวยังนำรูปแบบความร่วมมือด้านการเกษตรกับไต้หวันที่ประสบความสำเร็จ ไปปรับใช้สนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรในพื้นที่ภูเขาของประเทศลาว เวียดนาม และภูฏานด้วย
5. ภาพรวมของกิจการจีนโพ้นทะเล
5.1 ภาพรวมกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล
ชาวจีนมีประวัติโยกย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยมายาวนาน และส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้งและชาวฮกเกี้ยน จากสถิติอย่างไม่เป็นทางการ ในประชากร 70 ล้านคนในประเทศไทย มีสัดส่วนชาวจีนประมาณ 10% หรือกว่า 7 ล้านคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีชาวไต้หวันราว 150,000 คน โรงเรียนจีนกว่า 240 แห่ง และมีกลุ่มสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลมาก 600 สมาคม ทั้งนี้สมาคมจงหัวประเทศไทยเป็นสมาคมก่อตั้งขึ้นเป็นอันดับแรก ตามด้วยหอการค้าจีนทั่วไป, ชมรม 9 สมาคม (ระดับภูมิภาค) นอกจากนี้ยังมีสมาคมเพื่อการกุศล, สมาคมกลุ่มอาชีพ, สมาคมเชิงศาสนาและสมาคมจีนในระดับท้องถิ่น และกลุ่มชมรมตระกูลต่างๆอีก 62 กลุ่ม
5.2 ภาพรวมของนักธุรกิจชาวไต้หวัน
นักธุรกิจชาวไต้หวันเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักธุรกิจชาวไต้หวันจำนวนมากได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงงานไต้หวันอย่างน้อย 3,000 ราย มีการตั้งสมาคมไต้หวันทั่วประเทศไทยกว่า 15 พื้นที่ และมีสมาคมการค้าไทยไต้หวัน 1 แห่ง สถานที่ตั้งของสมาคมคือ: BANGNA COMPLEX OFFICE TOWER 22 Floor, Room 2/121-122, Soi Bangna-trad 25, Bangna Nua, Bangna, Bangkok เว็บไซต์: http://www.ttb.or.th สมาคมดังกล่าวให้บริการสมาชิกเป็นอย่างดีและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย
6.ด้านการกงสุล
สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒธรรมไทเป ประจำประเทศไทย รับผิดชอบงานด้านการกงสุลทั้งไทยและบังคลาเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒธรรมไทเป ประจำประเทศไทยและศูนย์เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำอินเดียร่วมกันดูแลงานด้านการกงสุลของบังคลาเทศ) ทั้งนี้เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลและนักธุรกิจชาวไต้หวันมีการติดต่อธุรกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยวในไทยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งกรุงเทพเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศของเอเชียอาคเนย์ มีคนชาติพันธุ์ต่างๆเดินทางผ่านแดนไทยและยื่นขอวีซ่าเดินทางไปไต้หวันจำนวนมาก ประกอบกับแรงงานไทยยังเป็นที่ชื่นชอบของนายจ้างชาวไต้หวัน ทำให้งานด้านการกงสุลของสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒธรรมไทเป ประจำประเทศไทยมีปริมาณสูงที่สุดในบรรดาสำนักงานตัวแทนไต้หวันที่ประจำต่างประเทศ